คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศกำหนดให้ 8 พฤษภาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ อังรี ดูนังต์ เป็น วันกาชาดสากล
เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2402 การรบระหว่างกองกำลังร่วมของฝรั่งเศสอิตาลีกับกองกำลังของออสเตรีย บริเวณใกล้หมู่บ้านซอลเฟริโน ตอนเหนือของอิตาลี ทหารบาดเจ็บและล้มตายจำนวนมาก เพราะขาดแพทย์พยาบาล
ฌอง อังรี ดูนังต์ (Jean Henri Dunant) นักธุรกิจการธนาคารชาวสวิส สลดใจกับเหตุการณ์ที่พบ จึงรวบรวมแพทย์ชาวออสเตรียและกลุ่มนักเรียนแพทย์อิตาเลียนเข้าช่วยเหลือ โดยไม่เลือกฝ่าย
และเมื่อเดินทางกลับกรุงเจนีวาได้เขียนบทความชื่อ ความทรงจำจากประเทศอิตาลี และ เก้าบทความ บรรยายเหตุการณ์ที่พบ พร้อมเสนอแนะว่า ควรเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือการพยาบาลให้พร้อมในยามสงบ เมื่อมีสงครามจะได้ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้ทันท่วงที และขอให้ทหารทุกฝ่ายอย่ายิงเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ ซึ่งความช่วยเหลือเหล่านี้ยังเป็นประโยชน์ในยามเกิดทุพภิกขภัยธรรมชาติอีกด้วย
การบุกเบิกของเขาร่วมกับ กุสต๊าฟ มัวนิเอร์ ทนายความคนสำคัญ ทำให้กาชาดประสบความสำเร็จ
และเกิดการประชุมระหว่างประเทศ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีผู้แทนจาก 16 ประเทศเข้าร่วมประชุม
จากข้อเสนอแนะในหนังสือของ อังรี ดูนังต์ ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า
1. ควรมีสมาคมขึ้นในทุกประเทศ เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์แก่ผู้คนในยามสงคราม
2. เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ ทหารที่บาดเจ็บ ตลอดจนเครื่องหมายกาชาด (กากบาทสีขาวบนพื้นสีแดง) ปรากฏที่ใด ต้องถือเป็นกลาง ไม่ใช่คู่สงคราม
และจึงก่อตั้ง คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross : ICRC) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศดำเนินนโยบายเป็นกลาง
ต่อมา พ.ศ.2413 ประเทศสมาชิกก่อตั้ง 22 ประเทศร่วมลงนามในอนุสัญญาเจนีวาเพื่อตกลงยอมรับและปฏิบัติตามข้อตกลงของสภากาชาดคือ
1. ดูแลรักษาเยียวยาทหารที่ได้รับบาดเจ็บในยามสงคราม
2. ดูแลเชลยศึกทุกคนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม
3. ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยทุกอย่างและทุกแห่งทั่วโลก
ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกกว่า 74 ประเทศ
สภากาชาดในแต่ละประเทศจะเป็นองค์กรอิสระ สามารถจัดวางแผนงานของตนให้เหมาะสมกับความต้องการของตนเองได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น